วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ครูพิมพ์ลภัส

ครูพิมพ์ลภัส สุนทรานุรักษ์

ครูสอนกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี โรงเรียนชะอวด
ชอบกิจกรรมลูกเสือ ๆ คือชีวิต
อาศัย ณ ล่องแก่งวังไม้ไผ่ 400 หมู่ที่ 3 ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93110
โทร 08-9875-5956

ทักษะลูกเสืองานมัธยมศึกษ ปี 55

เข้าร่วมแข่งขัน 5 ก.ย. 55 ได้ที่ 1 จำนวน 2 รายการ คือ

ลูกเสือของเรา

แข่งขันทักษะงานวิชาการมัธยมศึกษา ครั้งที่ 22 ณ เบญจมราชูทิศ

แผนการสอนลูกเสือ ม.1

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  สาระปฐมนิเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  เรื่องการปฐมนิเทศ     เวลา    ชั่วโมง


๑.  สาระสำคัญ
            เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และเตรียมความพร้อมที่ดีแก่ลูกเสือในการเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือทั้งในคาบสอนและกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสัมฤทธิผล  ตลอดถึงสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้กำกับลูกเสือกับสมาชิกลูกเสือในกอง  ทำให้การจัดกิจกรรมลูกเสือบรรลุตามวัตถุประสงค์

๒.  จุดประสงค์การเรียนรู้
                .  อธิบายแนวการวัดและประเมินผลและวินัย เพื่อให้สอบผ่านและได้ผลการเรียนเป็น ผ ได้
                ๒.  อธิบายแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่(เครื่องหมายลูกเสือโลก)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    ได้
๓.  จัดระบบการเรียนเพื่อให้ได้เครื่องหมายลูกเสือโลก
๔.  มีความตระหนักในเรื่องวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย คุณธรรมจริยธรรมในการเรียนกิจกรรมลูกเสือ
๓.  สาระการเรียนรู้
                ๑.  หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก
                ๒.  แนวการวัดและประเมินผล
                ๓.  วินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
๔.  กิจกรรมการเรียนรู้
๑.     ผู้กำกับลูกเสือ สั่งรวมกอง : แถวตอนหมู่
๒.    ทักทายลูกเสือด้วยเพลงวันนี้ยินดี
๓.    สำรวจรายชื่อลูกเสือแต่ละหมู่ แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และการแบ่งหน้าที่ภายในหมู่แล้วเขียนในใบงานที่ ๑ ตลอดทั้งนัดหมายหมู่บริการตั้งแต่ชั่วโมงถัดไปว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่น ติดตั้งเสาธง พร้อมธงชาติและการเก็บรักษาเพื่อนำมาใช้อีกในคาบต่อไป
๔.    แจกใบงานที่ ๑ พร้อมกับอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่ปฐมนิเทศแก่ลูกเสือและเปิดโอกาสให้ซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ
๕.    ผู้กำกับลูกเสือแจกใบงานที่ ๒ ให้กับลูกเสือทุกคนได้สำรวจตัวเองในเรื่องเครื่องแบบและเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบของตนเองว่า มีหรือไม่มี ต้องการความช่วยเหลือเรื่องใดหรือควรจะปรับปรุงเรื่องอะไรบ้าง
๖.     นายหมู่รวบรวมใบงานที่ ๒ และสรุปผลการสำรวจของสมาชิกเสนอผู้กำกับลูกเสือ
๗.    ลูกเสือฟังคำชี้แจงเพิ่มเติมจากผู้กำกับลูกเสือเกี่ยวกับงานที่ต้องปฏิบัติ
๘.    ติชมการร่วมกิจกรรมของลูกเสือ และให้กำลังใจ
๙.     เสนอแนะให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
๑๐. เล่านิทานสามัคคีคือพลัง
๑๑. นัดหมายชั่วโมงต่อไป เรื่องการแต่งเครื่องแบบ และการเปิด-ปิดประชุมกอง
๑๒.     แยกกอง

๕.  วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๑.     ใบงานที่ ๑-
๒.    ใบความรู้ที่ ๑
๓.    เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี
๔.    เครื่องหมายลูกเสือโลก

๖.  การวัดและประเมินผล

                ๖.๑  วิธีการวัดและสิ่งที่วัด
                                การสังเกต
                ๖.๒  เครื่องมือวัด
                                แบบสังเกตพฤติกรรม
                ๖.๓  เกณฑ์การวัด
                                มีพฤติกรรมมากกว่า ๒
๗.  ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
๘.  ความเห็นผู้บริหาร
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
                                                                                ลงชื่อ
                                                                                                (…………………………………………….)
                                                                                วันที่………..เดือน………………………..พ.ศ………..
๙.  บันทึกหลังสอน
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….

                                                                                ลงชื่อ                                                                     ผู้สอน
                                                                                                (นางพิมพ์ลภัส  สุนทรานุรักษ์)












เพลงประกอบการสอน สาระเครื่องหมายลูกเสือโลก
เรื่อง การปฐมนิเทศ
เพลง วันนี้ยินดี


                วันนี้ยินดีที่เราได้มาพบกัน (ซ้ำ)
    ยินดี  ยินดี  ยินดี มาเถิดมา เรามาร่วมสนุก
    ปลดเปลื้องความทุกข์ให้มันสิ้นไป
    มาเถิดมา เรามาร่วมจิต
ช่วยกันคิดทำให้การลูกเสือเจริญ


















ใบงานที่ ๑  สาระการปฐมนิเทศ

จำนวนสมาชิกในหมู่

สมาชิกหมู่ในหมู่………..............กองที่……….กลุ่มที่……….ปีการศึกษา ๒๕…….
ผู้กำกับประจำกองคือ…………………………………….…และ…………………………………..
ใน ๑ กอง มี จำนวน ๒ ๖ หมู่ ๑ หมู่ มี ๔-๘ คน คือ
๑.  นายหมู่ชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่………..ห้อง………..
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ.  ๒๕..คติธรรมประจำใจ………………………
๒. พลาธิการชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่…….ห้อง…………..
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ…………………………
๓. หัวหน้าคนครัวชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่………..ห้อง….
เกิดวันที่……….เดือน………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ………………………………
๔. ผู้ช่วยหัวหน้าคนครัวชื่อ……………………สกุล………………………….เลขที่………..ห้อง
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ…………………………
๕.  คนหาน้ำชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่…….ห้อง…………
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ…………………………
๖. คนหาฟืนชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่…….ห้อง…………
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ…………………………
๗. ผู้ช่วยทั่วไปชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่……ห้อง…………
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ…………………………
๘. รองนายหมู่ชื่อ…………………………สกุล………………………….เลขที่……ห้อง………….
เกิดวันที่……….เดือน……………………พ.ศ..๒๕..คติธรรมประจำใจ…………………………









ใบงานที่  

วิชา  การปฐมนิเทศ  สาระเครื่องหมายลูกเสือโลก

เรื่อง  การปฐมนิเทศ

ชื่อ……………………………………………เลขที่………..ห้อง…………..
คำสั่ง  ให้สมาชิกหมู่ลูกเสือทุกคน  สำรวจเครื่องแบบของตนเองตามรายการที่กำหนด  แล้วทำเครื่องหมาย  Pลงในหัวข้อที่กำหนด

รายการ

มี

ไม่มี
.  หมวกทรงอ่อนสีเลือดหมู/สีเขียว


.  เสื้อคอพับสีกากี  แขนสั้น/สีเขียว


.  กางเกงสีกากี  ขาสั้น/กะโปรง


.  ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีตราสัญลักษณ์นครศรีธรรมราช


.  เข็มขัดสีน้ำตาลพร้อมหัวเข็มขัดหน้าเสือเสียชีพอย่าเสียสัตย์/สีดำหัว น.น.


.  ถุงเท้ายาวสีกากี/สั้นขาว


.  รองเท้าหนังหรือผ้าใบสีน้ำตาลแก่/สีดำ


.  พู่สีเลือดหมู


.  ห่วงสวมผ้าผูกคอ


๑๐.  เครื่องหมายประจำการ ดาวสีเงินหกแฉกพื้นสีเขียว


๑๑.  ชื่อกลุ่ม คำว่า ชะอวด


๑๒.  เลขกลุ่ม-เลขกอง (เศษส่วน)


๑๓.  ป้ายชื่อตนเอง








ใบความรู้ที่ ๑  สาระการปฐมนิเทศ

เรื่อง เกณฑ์การวัดประเมินผล


๑.      การแต่งกายและความสะอาด
๑.๑  ลูกเสือ แต่งเครื่องแบบตามกฎกระทรวง  ว่าด้วยเครื่องแบบ  ของสำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ ในขณะที่กำลังเรียนหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก สิ่งที่ยังไม่ต้องประดับคือ อินทรธนู ต้องให้สอบผ่านและอนุมัติผลการสอบ เพื่อเป็นเกียรติแก่ลูกเสือทำพิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การทำพิธีการเข้าประจำกองผู้กำกับจะประดับอินทรธนูให้
๑.๒  เครื่องแบบลูกเสือ  ต้องมีความสะอาดเรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ (ใช้หนังสือกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบ)

๒.    การเข้าร่วมกิจกรรมและเกณฑ์การวัดและประเมินผล

๒.๑  ต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า  ๘๐  %  ของเวลาเรียนทั้งหมด
๒.๒  ต้องเข้าร่วมกิจกรรมหลักคือ
·       ต้องเข้าร่วมกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม
·       กิจกรรมที่กำหนดในหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก
·       กิจกรรมวันสำคัญ ๑ กรกฎาคม และ ๒๕  พฤศจิกายน
     ๒.๓  ประเมินจากผลงานที่ลูกเสือจัดทำและนำมาจัดเก็บไว้ในแฟ้มตามที่กำหนดในใบความรู้ที่ 
    ๒.๔  การตัดสินผลการเรียน  ใช้ตัวอักษรแสดงผลการเรียน  ที่มีเงื่อนไขดังนี้
                     หมายถึง  ผ่านเกณฑ์การประเมิน
มผ                  หมายถึง  ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
กิจกรรมลูกเสือ  เป็นกิจกรรมบังคับ    ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น  ลูกเสือ-
ต้องมีผลการเรียน   จึงจะจบหลักสูตร









ใบความรู้ที่ ๒  สาระการปฐมนิเทศ
เรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

สาระที่ 
กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์  และรักษาดินแดน
มาตรฐาน     ๓.๑  :  ผู้ที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะต้องพยายามฝึกอบรมตนเองเพื่อรับ
        เครื่องหมายลูกเสือโลกและเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

 

สาระการเรียนรู้กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๔๔  ประกอบด้วยกิจกรรมแนะแนวและกิจกรรมนักเรียน  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น    สาระหลัก  ประกอบด้วย
สาระที่    กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี  ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์  และรักษาดินแดน
                เป็นกิจกรรมที่พัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน  ทั้งร่างกาย    สติปัญญา  อารมณ์  และสังคม  โดยหลักสำคัญมุ่งเน้นการใช้ชีวิตกลางแจ้ง  ระเบียบวินัย  คุณธรรมจริยธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  รู้รักสามัคคี  การบำเพ็ญประโยชน์  และวิถีชีวิตในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข













ใบความรู้ที่ ๓ สาระการปฐมนิเทศ
คำอธิบายรายวิชา

กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 


          เปิดประชุมกอง  ดำเนินการตามกระบวนการลูกเสือและจัดกิจกรรม  โดยให้ศึกษา  วิเคราะห์  วางแผน  ปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม/เป็นหมู่หรือปฏิบัติตามฐานโดยเน้นระบบหมู่  ประเมินผล  สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม  ปิดการประชุมกองในเรื่อง

เครื่องหมายลูกเสือโลก

หลักสูตร
๑.      แสดงว่าเข้าใจเรื่องราวต่อไปนี้พอสมควร
๑.๑  กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ
๑.๒  กิจการของคณะลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือนานาชาติ
๑.๓  บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
๒.    ยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
๓.     เข้าใจเรื่องระเบียบแถวและปฏิบัติตามหนังสือคู่มือการฝึกระเบียบแถวลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
๔.     กางและรื้อเต็นท์ที่พักในเวลากลางคืนกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่อีกคนหนึ่ง
๕.     สาธิตการบรรจุเครื่องหลังอย่างถูกต้อง  สำหรับการเดินทางไกลไปพักแรมค้างคืน
๖.      ก่อและจุดไฟกลางแจ้ง  แล้วปรุงอาหารอย่างเพียงพอสำหรับ    คน
๗.     สามารถอ่านและใช้แผนที่  เข็มทิศและรู้จักบริเวณที่ตนอยู่  โดยพิจารณาจากเข็มทิศและสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
๘.     สามารถผูกและรู้จักประโยชน์เงื่อน  ๑๐  เงื่อน  ต่อไปนี้  คือ  เงื่อนพิรอด  เงื่อนขัดสมาธิ  เงื่อนผูกซุง  เงื่อนผูกกระหวัดไม้  เงื่อนบ่วงสายธนู  เงื่อนประมง  เงื่อนตะกรุดเบ็ด  เงื่อนผูกรั้ง  เงื่อนปมตาไก่  และการผูกแน่น  (ผูกทแยง        ผูกกากบาท  ผูกประกบ)
๙.      รู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลในเรื่องต่อไปนี้  คือ  บาดแผลธรรมดา  ถูกไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  เป็นลม  งูกัด  แมงมุมกัด  แมลงกัดต่อย  ผิวหนังถลอก  และเท้าแพลง
๑๐.  รู้เรื่องที่พึ่งระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยทั่วไป  เกี่ยวกับกิจกรรมของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
          เครื่องหมายลูกเสือโลก  เป็นเครื่องหมายขั้นต้น สำหรับผู้ที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  เป็นการเตรียมพร้อมที่จะรับความรู้ขั้นสูงต่อไป  ผู้สมัครใหม่ควรจะสอบได้เครื่องหมายลูกเสือโลก  ภายในระยะเวลา    เดือน  นับแต่วันสมัคร  เมื่อสอบได้แล้ว  ให้ทำพิธีเข้าประจำกอง  และเมื่อได้เข้าพิธีประจำกองเรียบร้อยแล้วจึงนับเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่โดยสมบูรณ์  มีสิทธิประดับเครื่องหมายลูกเสือโลกกึ่งกลางกระเป๋าเสื้อข้างซ้ายได้

เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

มีจำนวน  ๗๖  วิชา  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่    เลือก    วิชา  ประกอบด้วย
๑.      วิชานักสะสม
๒.    วิชาหัวหน้าคนครัว
๓.     วิชานักสะกดรอย
๔.     วิชาการพยาบาล
๕.     วิชาแผนที่ทหารและเข็มทิศ

 

ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ

ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔ ) ..  ๒๕๒๘
๑.  วิชานักสะสม
หลักสูตร
๑.     ทำการสะสมสิ่งของชนิดหนึ่งอย่างเรียบร้อยและจัดให้ถูกต้องตามระบบเป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน
๒.     ลักษณะหรือเรื่องของการสะสมให้ลูกเสือเป็นเลือกตัวอย่าง เช่น ดวงตราไปรษณียากร หน้าไม้ขีดไฟ เงินตรา เปลือกหอย แมลงแร่ธาตุและวัตถุมงคล ฯลฯ
๓.     การสะสมต้องมีปริมาณพอสมควร ซึ่งจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ

 

๒.  วิชาหัวหน้าคนครัว

หลักสูตร
๑.      ประกอบอาหารสำหรับลูกเสือ    หมู่  โดยมีการ   หุงข้าว  นึ่งข้าว  หรือหลามข้าว  และทำกับข้าว    อย่าง
๒.    รู้จักซื้ออาหาร  จัดรายการอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  และมีปริมาณเพียงพอ  สำหรับลูกเสือ    หมู่  หมู่ละ    คน  ที่ไปอยู่ค่ายพักแรมเป็นเวลา    สัปดาห์กรรมการสอบเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินที่จะซื้ออาหารให้
๓.     สามารถประกอบอาหารร้อน    อย่าง  และเครื่องดื่มร้อน    อย่าง  โดยไม่ใช้ภาชนะอื่นใดนอกจากหม้อหุงต้มสนาม

๓.  วิชานักสะกดรอย

หลักสูตร
๑.      สอบได้เครื่องหมายนักสังเกตและจำ  หรือการพราง  ตามหลักสูตรลูกเสือสามัญหรือเคยได้รับเครื่องหมายดังกล่าวมาแล้ว
๒.    รู้จักและสามารถอธิบายลักษณะที่แตกต่างกัน    อย่างของรอยเท้าคนที่แตกต่างกัน    รอย  ทั้งที่สวมรองเท้าหรือไม่สวมรองเท้า
๓.     สามารถอธิบายเหตุการณ์    เรื่อง  ได้ถูกต้องพอสมควร  โดยพิจารณาจากรอยที่ปรากฏบนทราย  หรือวัสดุธรรมชาติอย่างอื่น
๔.     หล่อรอยเท้านก,  สัตว์,  หรือจักรยาน  ด้วยปูนพลาสเตอร์  รวม    รอย  ทุกรอยให้ทำด้วยตนเองทั้งสิ้น  กับให้มีฉลากบอกวันที่และสถานที่ที่หล่อรอยเหล่านั้นด้วย
๕.     ทำทางสะกดรอย  (trail)  มีระยะทางยาวอย่างน้อย    กิโลเมตร  โดยให้มีเครื่องหมายทำด้วยวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างกันอย่างน้อย    ชนิด  จำนวนไม่น้อยกว่า  ๒๐  เครื่องหมาย  ทางสะกดรอยดังกล่าวให้ทำบนเส้นทางที่ลูกเสือไม่คุ้นเคย
๔.  การพยาบาล
                หลักสูตร
๑.      สอบได้เครื่องหมาย ผู้ให้การปฐมพยาบาลตามหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
๒.     รู้จักวินิจฉัย และสาธิตการปฏิบัติต่อผู้ที่แขนหัก และขากรรไกรเคลื่อน
๓.     สาธิตวิธีปฏิบัติต่อเลือดกำเดาออก
๔.     สาธิตวิธีเคลื่อนย้ายคนเจ็บ ๔ วิธี คือ ปฏิบัติตามลำพัง ๒ วิธี กับปฏิบัติร่วมกับเพื่อนลูกเสืออีก ๒ วิธี
๕.     รู้จักวิธีปฏิบัติในกรณีที่สงสัยว่าคนเจ็บกินหรือถูกยาพิษ
๖.      สามารถนำเพื่อนลูกเสือเป็นคณะไปช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุ ที่กรรมการสอบจะเป็นผู้สมมุติขึ้น กรรมการสอบจะต้องดูแลการปฏิบัติให้ใกล้กับความเป็นจริง เช่น ในการแจ้งข่างไปยังแพทย์ ตำรวจ ผู้บังคับบัญชา และบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนการปฏิบัติต่อคนเจ็บทุกระยะไป
๗.     สาธิตวิธีผายปอดตามแบบฮอลเกอร์ นิลเสน และใช้หุ่นสาธิตวิธีผายปอดตามแบบปากต่อปาก (ห้ามสาธิตกับคน) มีความรู้เกี่ยวกับการนวดหัวใจ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อหัวใจกลับทำงานได้ตามปกติ
๕.  วิชาแผนที่ทหารและเข็มทิศ
      หลักสูตร
๑.      มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ทหาร  ต่อไปนี้
๑.๑.  ความหมายและชนิดของแผนที่ระว่างต่างๆ
๑.๒.  มาตราส่วน, ข่าวสาร, ขอบระวาง, สี, และเครื่องหมายที่แสดงในแผนที่
          นั้น ๆ
๑.๓.  ทิศทาง, ทิศเหนือจริง, ทิศเหนือแม่เหล็ก, ทิศเหนือกริด, มุมเยื้อง
๑.๔.  ความสูง, ทรวดทรง, และเส้นลายของเขา(เส้นชั้นความสูง)
๒.    สามารถกำหนดที่ตั้งลงบนแผนที่ด้วยพิกัดทางภูมิศาสตร์, พิกัดทางทหาร, พิกัดโปล่า, และพิกัดเส้นสมมุติ
๓.     สามารถพิจารณาลักษณะภูมิประเทศเปรียบเทียบกับแผนที่
๔.     แสดงการหาทิศเหนือด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยไม่ใช้  เข็มทิศ    วิธี
๕.     แสดงการวางแผนที่ให้ถูกทิศ
๖.      รู้จักชนิดของเข็มทิศทั่วไป  และเข็มทิศที่ใช้ทางทหาร
๗.     สามารถกำหนดจุดลงบนแผนที่  ด้วยการเล็งตรง, การเล็งสกัดกลับ  เพื่อหาที่อยู่ของตนเอง
๘.     สามารถเดินทางในภูมิประเทศด้วยเข็มทิศ  หรือวิธีอื่น ๆ เช่น  ดาราศาสตร์
๙.      มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศ
หมายเหตุ
             การสอบวิชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ทุกวิชาให้หัวหน้าสถานศึกษา  เป็นผู้ดำเนินการสอบ  โดยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิให้เป็นกรรมการสอบ และเมื่อทำการสอบเครื่องหมายลูกเสือโลก  เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ  เครื่องหมายลูกเสือหลวง หรือเครื่องหมายวิชาพิเศษแล้ว  ให้รายงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ  หรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด  แล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาอนุมัติผลการสอบและประดับเครื่องหมายนั้น ๆ ได้

ใบความรู้ที่ 
เรื่อง  การปฐมนิเทศ
การประเมินด้วยแฟ้มสะสมผลงาน
(Portfolio)
·       ประเมินจากผลงานที่ลูกเสือจัดทำและนำมาจัดเก็บไว้ในแฟ้ม  แฟ้มจะประกอบด้วย
๑.      ปก
๒.    คำนำ
๓.     ข้อมูลส่วนตัว
๔.     สารบัญ
๕.     จุดประสงค์
๖.      เกณฑ์การประเมินงาน
๗.     สมุดลูกเสือ
๘.     งานทั้งหมด
๙.      การประเมินตนเอง/เพื่อน/ผู้ปกครอง/ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
๑๐.  ความรู้สึกต่อกิจกรรมลูกเสือ
·       ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว
๑.      ชื่อ-ชื่อสกุล
๒.    วันเดือนปีเกิด
๓.     ชื่อบิดา-มารดา/พี่น้อง
๔.     ที่อยู่อาศัย
๕.     อุดมคติของการทำงาน
๖.      วิชาที่ชอบ
๗.     กิจกรรมที่ชอบ
๘.     สิ่งที่ประทับใจในการเรียน
๙.      รางวัลที่เคยได้รับ
๑๐.  ความสามารถพิเศษ
๑๑. ผลงานที่สะสม




ใบความรู้ที่ ๕  การปฐมนิเทศ เครื่องหมายลูกเสือโลก
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่(เครื่องหมาย
     ลูกเสือโลก)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    ได้
๒.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ โครงสร้างและการบริหารงาน
      ของคณะลูกเสือแห่งชาติได้
๓.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับกิจการของคณะลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือ
      นานาชาติได้
๔.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่มีต่อชุมชนได้
๕.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือได้
๖.  เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือได้
๗.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการฝึกระเบียบแถวลูกเสือ เรื่องต่อไปนี้ได้
๘.  มีความรู้  ความเข้าใจ การฝึกระเบียบแถวลูกเสือ เรื่องบุคคลท่าถือไม้ง่าม
๙.  มีความรู้  ความเข้าใจ อธิบายการฝึกระเบียบแถวลูกเสือ เรื่องการฝึกสัญญาณมือและการปฏิบัติ
     ในการเรียกแถวของลูกเสือสากล

๑๐. มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการกาง  การรื้อ  การเก็บและรักษาเต็นท์ได้

๑๑.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบรรจุเครื่องหลังได้

๑๒.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการก่อกองไฟและจุดไฟกลางแจ้งในการปรุงอาหารได้
๑๓.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการอ่านและใช้แผนที่ได้
๑๔.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้เข็มทิศได้
๑๕.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการหาทิศจากสิ่งแวดล้อมได้

๑๖.  มีความรู้  ความเข้าใจ   เกี่ยวกับประโยชน์ การเก็บรักษาเงื่อน และการผูกเงื่อน ต่อไปนี้ได้

๑.  เงื่อนพิรอด
๒.  เงื่อนขัดสมาธิ
๓.  เงื่อนผูกกระหวัดไม้ 
๔.  เงื่อนบ่วงสายธนู
๕.  เงื่อนตะกรุดเบ็ด

๑๗.  มีความรู้  ความเข้าใจ    ประโยชน์ การเก็บรักษาเงื่อน และการผูกเงื่อน ต่อไปนี้ได้

๑.  เงื่อนประมง
๒.  เงื่อนผูกซุง
๓.  เงื่อนผูกรั้ง
      ๔.  เงื่อนปมตาไก่
๑๘.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการผูกแน่น
๑๙.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลได้
๒๐.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับความปลอดภัยในกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ได้
๒๑.  มีความรู้  ความเข้าใจ ในการทำพิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ได้

๒๒.  มีความรู้  ความเข้าใจ แนวทางการเรียนเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  ชั้น

         มัธยมศึกษาปีที่    ได้

๒๓.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเป็นนักสะสมได้
๒๔.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารได้
๒๕.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การจัดรายการอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีปริมาณ
          เพียงพอได้
๒๖.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกอบอาหารสำหรับลูกเสือ    หมู่ได้
๒๗.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกอบอาหารร้อนและเครื่องดื่มร้อนโดยใช้หม้อหุงต้ม
          สนามได้
๒๘.  มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับลักษณะที่แตกต่างกัน ๒ อย่างของรอยเท้าคน ๓ รอย ทั้งที่สวม
          รองเท้าและไม่สวมรองเท้าได้
๒๙.  มีความรู้  ความเข้าใจ ในการแปรความหมายจากเหตุการณ์โดยพิจารณาจากรอยเท้าที่ปรากฏ
         บนทรายหรือวัสดุอื่นได้
๓๐.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการหล่อรอยด้วยปูนปลาสเตอร์ด้วยตนเองตามที่กำหนดได้
๓๑.  มีความรู้  ความเข้าใจ ในการทำทางสะกดรอยบนเส้นทาง ตามระยะทางและเครื่องหมายด้วย
         วัสดุธรรมชาติตามที่กำหนดได้
๓๒.  มีความรู้  ความเข้าใจ ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บต่อไปนี้ได้
               ๑.  แขนหัก
๒.  ขากรรไกรเคลื่อน
               ๓.  เลือดกำเดาออก
               ๔.  คนกินหรือถูกยาพิษ
๓๓.  มีความรู้  ความเข้าใจ ช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายคนเจ็บ ๔ วิธี คือ ปฏิบัติตามลำพัง   วิธี
         กับปฏิบัติร่วมกับเพื่อนลูกเสือ อีก ๒ วิธีได้
๓๔. มีความรู้  ความเข้าใจ และสาธิตการผายปอดตามแบบฮอลเกอร์ นิลเสน ใช้หุ่นสาธิตวิธีผาย
        ปอดตามแบบปากต่อปาก และ  การนวดหัวใจ
๓๕.  มีความรู้  ความเข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับแผนที่ทหารเบื้องต้นได้
๓๖.  ความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการกำหนดที่ตั้งลงบนแผนที่ด้วยพิกัดทางภูมิศาสตร์ พิกัดทาง
         ทหาร พิกัดโปล่าและพิกัดเส้นสมมติได้
๓๗.  มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการพิจารณาลักษณะภูมิประเทศเปรียบเทียบกับแผนที่ แสดง
          การหาทิศเหนือด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยไม่ใช้เข็มทิศ ๓ วิธี  และการวางแผนให้ถูกทิศได้
๓๘.  มีความรู้  ความเข้าใจ ความเป็นมาของเข็มทิศ ชนิดของเข็มทิศ ส่วนประกอบของเข็มทิศ
          ซิลวา เข็มทิศเลนซาติกและใช้เข็มทิศซิลวาได้
๓๙.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการกำหนดจุดลงบนแผนที่ด้วยการเล็งสกัดตรงและการเล็งสกัด
         กลับเพื่อหาที่อยู่ของตนเองได้

๔๐.  มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเดินทางในภูมิประเทศด้วยเข็มทิศและวิธีอื่น    วิธีได้

๔๑.  มีความรู้  ความเข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะภาพถ่ายทางอากาศได้
๔๒.  ลูกเสือนำเสนอชิ้นงาน/แฟ้มสะสมงานของตนเอง




















เรื่องสั้นที่เป็นคติ  สาระการปฐมนิเทศ
เรื่อง วัวนอกคอก

                ในสมัยอดีตกาล ยวดยานพาหนะและถนนหนทางก็ยังไม่เจริญ เพราะฉะนั้นการบรรทุกของจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งจำเป็นต้องใช้สัตว์บรรทุกไป ซึ่งเราขานกันว่าวัวต่างหรือม้าต่างที่เรียกเช่นนี้เพราะเราใช้สัตว์ดังกล่าวบรรทุกของนั่นเอง ต่อมาได้มีพ่อค้านำวัวบรรทุกของจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง ในการเดินทางจะต้องมีวัวตัวหนึ่งเป็นตัวนำฝูง ขณะที่เดินทางไปนั้นมีวัวตัวหนึ่งเห็นหญ้าเขียวขจีมันก็พยายามแหกฝูงไปกินหญ้าแต่ถูกเจ้าของเฆี่ยนตี พอถึงเวลากลางคืนทุกชีวิตก็พากันหยุดพักผ่อนนอนหลับระหว่างทางด้วยความอ่อนเพลียจากการเดินทาง วัวตัวเดิมที่แหกฝูงในตอนกลางวันก็สะบัดเชือกให้หลุดเพื่อไปกินหญ้าที่มันเห็นในตอนกลางวัน แต่ระยะทางมันไกล มันเดินลัดเลาะไปตามป่าละเมาะได้ชั่วอึดใจก็ถูกเจ้าเสือโคร่งตะครุบกินเป็นอาหาร
                รุ่งเช้าพ่อค้าได้สำรวจวัวของตน ทราบว่าวัวหายไปตัวหนึ่ง จึงออกเดินตามรอยเท้าวัวไป พบซากที่เหลือก็คิดว่าคงเป็นอาหารของสัตว์ร้ายเสียแล้ว
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัยย่อมทำให้เกิดอันตรายได้

















แบบบันทึกการสังเกต 

สาระการปฐมนิเทศ


๑.     กอง……………………………กลุ่ม…………………………………………………………
๒.    ชื่อหมู่………………………………………………………………………………………….
๓.    ชื่อสมาชิกในลูกเสือ………………..…………………………………………………………..
........……………………………………………………………………………………………